เมนู

อรรถกถาภาวนาสูตรที่ 7


ภาวนาสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนนุยุตฺตสฺส ความว่า เมื่อภิกษุไม่ประกอบเนือง ๆ
และไม่ประกอบทั่วแล้วอยู่. คำว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว กุกฺกุฏิยา
อณฺฑานิ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมานี้ ไว้เป็นสอง
ประการ คือ ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว (อกุศลและกุศล)
บรรดาอุปมา 2 อย่างนั้น อุปมาแห่งธรรมฝ่ายดำ ไม่ทำ
ประโยชนให้สำเร็จ ธรรมฝ่ายขาวทำประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบประโยชน์ด้วยอุปมาแห่งธรรมฝ่ายขาว
นั่นแล. ศัพท์ว่า เสยฺยถา เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปมา. ศัพท์ว่า
อปิ เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งสัมภาวนะ ยกย่อง พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงว่า เสยฺยาถา นาม ภิกฺขเว ดังนี้.
ก็ในพระบาลีนี้ว่า กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ อฏฺฐวา ทสวา ทฺวาทส วา
มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. แม่ไก่จะมีไข่ขาดหรือเกินโดยประการที่ตรัส
ไว้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น พระองค์ก็ตรัสคำนี้ไว้ ก็เพื่อให้ถ้อยคำ
และสลวย. บทว่า ตานสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ ความว่า ฟองไข่
เหล่านั้นพึงมี. บทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมา อธิสยิตานิ ความว่า เมื่อ
นางไก่เป็นแม่นั้น เหยียดปีกนอนกกบนฟองไข่เหล่านั้น ชื่อว่ากก
แล้วโดยชอบ. บทว่า สมฺมา ปริสพิตานิ ความว่าเมื่อแม่ไก่มีระดู
ตามกำหนดเวลา เป็นอันชื่อว่าให้สุกแล้วโดยรอบด้วยดี อธิบายว่า

กระทำให้อุ่นแล้ว. บทว่า สหมาปริภาวิตานิ ความว่า อบโดยรอบ
ด้วยดีตามกำหนดเวลา อธิบายว่า ฟองไข่ได้รับไออุ่นของแม่ไก่.
คำว่า กิญฺจาปิ ตสฺสา กุกฺกุฏิยา ความว่า เพราะแม่ไก่นั้น กระทำ
ความไม่ประมาท โดยการกระทำกิริยา 3 อย่างนี้ ไม่พึงเกิดความ
ปรารถนา ต่างนั้นก็จริง. บทว่า อถโข ภพฺพาว เต ความว่า ที่แท้
ลูกไก่เหล่านั้นควรเจาะออกไปโดยสวัสดี โดยนัยที่กล่าวแล้ว ก็
เพราะเหตุที่ฟองไข่เพราะนั้นแม่ไก่นั้น ให้ความคุ้มครองด้วยอาการ
3 อย่างนี้ จึงไม่เน่าเสีย ฟองไข่เหล่านั้นยังมียางสด ยางสดนั้น
ยึดเกาะกะเปาะไข่ ก็บาง ปลายเล็บเท้าและปลายจะงอยปากเป็น
ของแข็ง ลูกไก่ทั้งหลายย่อมขยับขยายได้เอง เพราะกะเปาะไข่เป็น
ของบาง แสงสว่างภายนอก ย่อมปรากฏเข้าสงภายใน ฉะนั้น ลูกไก่
เหล่านั้น พากันคิดว่า พวกเรานอนงอมืองอเท้า อยู่ในที่แคบเป็น
เวลานานหนอ ก็แสงสว่างนี้ย่อมปรากฏอยู่ข้างนอก บัดนี้ พวกเรา
จักอยู่เป็นสุขในที่นี้ ดังนี้ประสงค์จะออกไป จึงทำลายกะเปาะไข่
ยื่นคอออกไป. แต่นั้น กะเปาะไข่ (เปลือกไข่) นั้น ก็แตกออกเป็น
2 ซีก. ต่อนั้น ลูกไก่เหล่านั้น สลัดปีกพลางส่งเสียงร้องออกไป
ตามสมควรแก่เวลานั้น และเมื่อออกไปได้ก็เที่ยวทำเขตบ้านให้
สวยงาม
คำว่า เอวเมว โข นี้ ท่านกล่าวไว้เป็นคำอุปมา. คำนั้น
พึงทราบได้ก็เพราะเทียบเคียงข้อความอย่างนี้. จริงอยู่การ
กระทำอนุปัสสนา 3 ว่า ปัญญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

อนัตตา ในจิตตสันดานของตน ของภิกษุนี้ เปรียบเหมือนการ
กระทำกิริยา มีการนอนกกฟองไข่เป็นต้น ของแม่ไก่นั้น
การไม่ทำวิปัสสนาญาณให้เสื่อม ด้วยการทำวิปัสสนา 3 ให้ถึง
พร้อม ของภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งวิปัสสนา เปรียบเหมือน
ความไม่เน่าเสียแห่งฟองไข่ ด้วยการกระทำกิริยา 3 อย่าง ให้ถึง
พร้อมของแม่ไก่. การยึดยางเหนียวคือความใคร่อันติดตามไป
สู่ภพ 3 ด้วยการทำอนุปัสสนา 3 ให้ถึงพร้อมของภิกษุนั้น เปรียบ
เหมือนยึดยางเหนียวสด แห่งฟองไข่ทั้งหลาย ด้วยการทำกิริยา 3
ของแม่ไก่นั้น. ความว่าที่กะเปาะไข่คืออวิชชาเป็นของบาง เพราะ
การทำอนุปัสสนา 3 ให้ถึงพร้อมของภิกษุ เปรียบเหมือนความที่
กะเปาะฟองไข่เป็นของบาง ด้วยการกระทำกิริยา ของแม่ไก่
ความที่วิปัสสนาญาณ เป็นธรรมชาติกล้าแข็ง ผ่องใสและกล้าแข็ง
เพราะการทำอนุปัสสนา 3 ให้ถึงพร้อมของภิกษุ เปรียบเหมือน
ความที่เล็บ จะงอยปากของลูกไก่ เป็นของแข็ง ด้วยการกระทำ
กิริยา 3 ของแม่ไก่ กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลง กาลเจริญเติบโต
กาลที่ถือเอาซึ่งห้องแห่งวิปัสสนาญาณ ด้วยทำอนุปัสสนา 3 ให้
ถึงพร้อมของภิกษุ เปรียบเหมือนการที่ลูกไก่เปลี่ยนแปลงไป
ด้วยการกระทำกิริยา 3 ของแม่ไก่ กาลที่ภิกษุนั้น ให้จิตถือเอา
ซึ่งห้องแห่งวิปัสสนาญาณ นั่งบนอาสนะ เที่ยวไปอยู่. ย่อมสิ้น
แล้วจึงเที่ยวไป ได้อุตุสัปปายะ โภชนะสัปปายะ บุคคลสัปปายะ
ธัมมสวนสัปปายะ อันสมควรแก่วิปัสสนาญาณนั้น นั่งบนอาสนะ
เดียว เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชา ด้วย

อรหัตมรรค ที่ตนบรรลุแล้วโดยลำดับ แล้วปรบปีกคืออภิญญาแล้ว
บรรลุพระอรหัตโดยสวัสดี พึงทราบเปรียบเหมือนกาลที่ลูกไก่
ทั้งหลาย ทำลายกะเปาะฟองไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอย
ปาก แล้วปรบปีกเจาะออกไปโดยสวัสดี ด้วยการกระทำกิริยา 3
ให้ถึงพร้อมของแม่ไก่. เหมือนอย่างว่า แม่ไก่ทราบว่าลูกไก่ทั้งหลาย
เปลี่ยนแปลงแล้ว ย่อมทำลายกะเปาะฟองไข่ ฉันใด แม้พระศาสดา
ก็ฉันนั้น ทรงทราบว่าภิกษุเห็นปานนั้นมีญาณแก่กล้าแล้ว ทรงแผ่
พระรัศมีทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชา ด้วยคาถาโดยนัยมีอาทิว่า
เธอจงถอนเสียซึ่งความเยื่อใยของตน
เหมือนบุคคลเอามือถอนกอโกมุท ในสารทกาล
ฉะนั้น เธอจงพอกพูนทางอันสงบ ด้วยว่าพระ-
นิพพาน อันพระสุคตแสดงไว้แล้ว.

จบคาถา ภิกษุนั้น ทำลายกะเปาะไข่คืออวิชชาแล้วก็บรรลุ
อรหัต. ตั้งแต่นั้นมา ลูกไก่เหล่านั้นก็ทำเข้าบ้านให้งดงาม เที่ยว
อยู่ในเขตบ้านนั้นฉันใด. พระมหาขีณาสพแม้นั้น ก็ฉันนั้น เข้าผล
สมาบัติ ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ทำสังฆารามให้งาม
เที่ยวไปอยู่.
บทว่า ทลภณฺฑสฺส ได้แก่ ช่างไม้ ก็ช่างไม้นั้นทรงไว้ซึ่ง
กำลัง กล่าวคือแรงยกหิ้ว นำเอาเครื่องไม้ไป เพราะเหตุนั้น ท่าน
เรียกว่า พลภัณฑะ. บทว่า วาสิชเฏ ได้แก่ในที่ด้ามมีดสำหรับมือจับ.

บทว่า เอตฺตกํ วา เม อชฺช อาสวานํ ขีณํ ความว่า ก็อาสวะทั้งหลาย
ของบรรพชิต ย่อมสิ้นไปตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยอุเทส ด้วยปริปุจฉา
ด้วยโยนิโสมนสิการ ด้วยวัตรปฏิบัติ โดยสังเขปว่าบรรพชา
อธิบายว่า ก็เมื่ออาสวะทั้งหลายสิ้นไปอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม
ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ (อาสวะ) สิ้นไปเท่านี้วานนี้ (อาสวะ) สิ้นไป
เท่านี้ ดังนี้. อานิสงส์แห่งวิปัสสนา ท่านแสดงด้วยอุปมาอย่างนี้.
บทว่า เทมนฺติเกน ความว่า โดยเหมันตสมัย คือ ฤดูหนาว. บทว่า
ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมไปอย่างถาวร.
ในบทว่า เอวเนว โข นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พระศาสดา
(คำสอน) พึงเห็นเหมือนมหาสมุทร พระโยคาวจรเหมือนเรือ การ
เที่ยวไปในสำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์ในเวลาที่ตนมีพรรษา
หย่อน 5 ของภิกษุนี้ เหมือนเรือแล่นวนอยู่ในมหาสมุทร. ความที่
สังโยชน์ทั้งหลายเบาบางลงด้วยกิจมีอุเทสและปริปุจฉา เป็นต้น
นั่นแล โดยสังเขปว่า บรรพชาของภิกษุ เหมือนเครื่องผูกเรือ
อันนำในมหาสมุทรกัดให้กร่อนเบาบางไปฉะนั้น กาลที่ภิกษุผู้เป็น
นิสสยมุตตกะพ้นนิสัย กำหนดกรรมฐานอยู่ในป่า เหมือนเวลา.
ที่เธอถูกเขายกขึ้นไว้บนบก ใยยางคือตัณหา เหือดแห้งไปด้วย
วิปัสสนาญาณ เหมือนเชือกแห้งเกราะไปด้วยลมและแดด ในกลางวัน
ฉะนั้น การชุ่มชื่นแห่งจิตด้วยปีติและปราโมทย์ ที่อาศัยกรรมฐาน
เกิดขึ้น เหมือนเชือกเปียกชุ่มด้วยหยาดน้ำค้างในกลางคืน ความที่
สังโยชน์ทั้งหลาย มีกำลังอ่อนลงเป็นอย่าง ด้วยปีติและปราโมทย์
อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ พึงเห็นเหมือนเครื่องผูกเรือ

ที่ถูกแดดแผดเผาในกลางวัน และถูกหยาดน้ำค้างเปียกชุ่มอยู่
ในกลางคืนทำไห้เสื่อมสภาพไป. อรหัตตมรรคญาณ เหมือนเมฆฝน
ที่ตกลงมา. ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจ
แห่งอารมณ์มีรูป 7 หมดเป็นต้น เมื่อกรรมฐานปรากฏชัดแจ่มแจ้ง
อยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นในวันหนึ่ง นั่งโดยบัลลังค์ก็บรรลุพระ-
อรหัตตผล เหมือนเรือนที่ผุภายใน เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาและ
น้ำในมหาสมุทร พระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์แล้ว อนุเคราะห์
มหาชนอยู่ ดำรงขันธ์ตลอดอายุขัย เหมือนเรือที่เครื่องผูกตั้งอยู่
ชั่วกาลนิดหน่อย พระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพพานธาตุ เพราะการแตกแห่งอุปาทินนขันธ์ สังขารที่มีใจครอง
ก็ถึงความหาบัญญัติมิได้ พึงเห็นเหมือนเรือที่เครื่องผูกผุ ก็สลาย
ไปโดยลำดับ หาบัญญัติมิได้ฉะนั้น. ด้วยอุปมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงความที่สังโยชน์ทั้งหลาย มีกำลังอ่อนลง
จบ อรรถกถาภาวนาสูตรที่ 7

8. อัคคิขันธูปมสูตร


[69] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้น-
โกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล
ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ใกล้
โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลัง
ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระ-
ราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้า
อ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือ
นอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เดือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ